เจ้าของน้องหมาหลาย ๆ ท่านโดยเฉพาะที่รับลูกสุนัขมาเลี้ยงใหม่ คงเคยประสบปัญหาที่ลูกสุนัขเมื่อเริ่มโตขึ้นจะมีพฤติกรรมกัดแทะสิ่งของภายในบ้าน เช่น แทะรองเท้า ตู้เตียง โซฟา ลามไปจนถึงแทะมือและเท้าของคนในบ้าน เจ้าของบางคนอาจคิดว่าพฤติกรรมกัดแทะที่เกิดขึ้นนี้คงเป็นอาการ “คันฟัน” ของการเปลี่ยนจากฟันน้ำนมเป็นฟันแท้ของสุนัข ซึ่งเมื่อเปลี่ยนหมดแล้วอาการกัดแทะดังกล่าวก็น่าจะหายไป สิ่งนี้เป็นความเข้าใจที่ถูกต้องหรือไม่ และเราจะมีวิธีสอนไม่ให้น้องหมาตัวแสบเหล่านี้กัดแทะสิ่งของและมือของเราอย่างไร เรามาทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันเลย การขึ้นของฟันน้ำนมและการเปลี่ยนชุดฟันของสุนัข ฟันของสุนัขเหมือนกันกับคน คือมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 2 ชุด ได้แก่ ฟันน้ำนม 28 ซี่ และฟันแท้ 42 ซี่…
DEEMMI
DEEMMI
Deemmi Pet Care Service Center - Searching ค้นหาสถานบริการสัตว์เลี้ยง - Telemedicine ให้คำปรึกษาปัญหาสัตว์ออนไลน์
-
สิ่งสำคัญของการฝึกให้น้องหมาอึฉี่เป็นที่เป็นทาง คือ ต้องฝึกตั้งแต่ยังเล็ก และควรเริ่มทำในช่วงแรก ๆ ของการรับสุนัขเข้ามาเป็นสมาชิกภายในบ้าน น้องหมาจะสามารถเรียนรู้การอึฉี่บนวัสดุหรือบริเวณที่จัดเตรียมไว้ให้ เมื่อเราฝึกน้องในช่วงเวลาดังต่อไปนี้ ภายหลังตื่นนอนตอนเช้า หรือก่อนที่จะทำกิจกรรมใด ๆ ก่อนที่จะเข้านอนทุกครั้ง หลังปล่อยออกจากกรง หรือห้องในระหว่างวัน หลังจากสุนัขตื่นในช่วงนอนกลางวัน 5-10 นาทีหลังมื้ออาหาร ทุกครั้งหลังจากดื่มน้ำเสร็จแล้ว เมื่อเล่นกับเจ้าของเสร็จ หรือหลังจากเล่นของเล่นแล้ว หรือแทะกระดูกจนพอใจแล้ว การพาสุนัขเดินทางไกลนาน ๆ และไม่มีการแวะพาขับถ่าย ปัจจัยที่มีผลในการจัดโปรแกรมฝึกสุนัขขับถ่าย 1. การให้อาหารเป็นเวลา การให้อาหารเป็นเวลา จะช่วยให้การฝึกขับถ่ายสำเร็จได้ เนื่องจากการปล่อยให้สุนัขได้กินตลอดทั้งวัน…
-
1. สำหรับทาสแมวทั้งหลาย วันที่ความรักผลิบานพร้อมอวดรูปน้องแมวที่รัก จะเป็นวันแมวโลก (International Cat Day) ซึ่งตรงกับวันที่ 29 ตุลาคม ของทุกปี 2. แต่สำหรับคนญี่ปุ่น โอะฮาโย โกไซอิมัส วันที่เหล่าผู้คนในประเทศจะนำภาพน่ารัก ๆ ที่มองแล้วใจฟูมาให้ชม จะเป็นวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ของทุกปี 3. วันแมวญี่ปุ่นไม่ได้มาเล่น ๆ นะเออ เพราะมีการก่อตั้งขึ้นโดยสมาคม Japan…
-
เพื่อให้น้องแมวได้เรียนรู้ว่าบริเวณไหนควรขับถ่ายภายในบ้าน ซึ่งจะช่วยให้เจ้าของไม่ต้องมีปัญหาตามเก็บทำความสะอาดอึฉี่ของน้องตลอดเวลา เรามาเรียนรู้พฤติกรรมของแมวและวิธีการฝึกน้องกันเถอะ 1. พฤติกรรมแมวในการทำความสะอาดหลังขับถ่าย เนื่องจากแมวเป็นสัตว์รักความสะอาด ดังนั้นโดยธรรมชาติแล้วแมวจะสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองถึงวิธีการทำความสะอาดหลังขับถ่ายเสร็จ ได้แก่ การคุ้ยเศษฟางหรือเศษดินทรายมากลบอุจจาระของมัน แต่กรณีการเลี้ยงภายในบ้าน แม่แมวจะเป็นคนสอนวิธีการขับถ่ายและทำความสะอาดให้กับลูกแมว ซึ่งหากลูกแมวไม่ได้อยู่กับพ่อแม่มาตั้งแต่เกิด เจ้าของจำเป็นต้องสอนแมวให้คุ้นเคยกับพื้นที่ขับถ่ายอุจจาระภายในบ้านด้วยตัวเอง 2. มีโปรแกรมการให้อาหารเพื่อให้ง่ายต่อการฝึกขับถ่าย กรณีที่เราเลี้ยงแมวอยู่ภายในบ้าน เราต้องสอนให้น้องกินอาหารเป็นตารางเวลาที่แน่นอน เพื่อที่จะกำหนดโปรแกรมการปล่อยแมวไปทำธุระส่วนตัวได้ อย่างไรก็ตามสำหรับช่วงแรกของการฝึก แมวจะยังขับถ่ายไม่เป็นที่ ซึ่งเราจำเป็นต้องเน้นการขจัดกลิ่นและคราบสกปรกของพื้นที่ที่ไม่ต้องการให้แมวไปขับถ่ายซ้ำเสียก่อน และเหลือเพียงบริเวณที่ต้องการฝึกน้องแมวเท่านั้น วิธีการทำความสะอาดเพื่อกลบกลิ่นอึหรือฉี่ของแมว คือ ให้ใช้น้ำส้มสายชูหรือน้ำมะนาวผสมน้ำพ่นลงไปยังพื้นที่ดังกล่าว แต่ไม่ควรใช้น้ำยาที่มีส่วนประกอบของแอมโมเนียเพราะจะเป็นตัวกระตุ้นให้แมวมาขับถ่ายบริเวณเดิมมากขึ้น 3. เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกขับถ่ายแมวให้พร้อม การใช้กระบะทรายในการขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะของแมวนั้น เราต้องมีการเตรียมความพร้อมดังนี้…
-
วันก่อนมีโอกาสไปเดินเล่นแถวตลาดนัด อยู่ ๆ ก็เหมือนถูกสะกดจิตให้ต้องหันไปทางซ้าย เพื่อจ้องมอง “น้องปุกปุย…ขนยาวสีขาวราวปุยเมฆ ตัวอ้วนกลมหูยาวออกเทานิด ๆ เจ้าตัวเล็กขนนุ่มกำลังนอนหลับตาพริ้มอยู่ในกรง ที่เจ้าของเอามาวางไว้หน้าร้าน เราหยุดยืนมองอยู่นาน และสุดท้ายก็ได้น้องกลับบ้านไปเลี้ยงดูสมใจ ว่าแต่มือใหม่หัดเลี้ยงกระต่ายอย่างเรา มีเรื่องอะไรต้องรู้อะไรบ้างนะ 10 เรื่องน่ารู้สำหรับมือใหม่หัดเลี้ยงกระต่าย 1. การอุ้มกระต่ายที่ถูกต้อง อย่างแรกที่ควรรู้คือ “ห้ามหิ้วหูกระต่าย” เพราะเป็นส่วนที่มีทั้งเส้นเลือดและเส้นประสาทอยู่มากมาย เรียกว่าเป็นจุดตายของกระต่ายได้เลยเพราะเป็นส่วนที่ละเอียดอ่อนมาก วิธีการอุ้มที่ถูกต้องคือ ให้อุ้มเหมือนเด็กทารก ใช้มือข้างนึงสอดเข้าไปใต้ขาหน้าทั้ง 2 ข้าง แล้วใช้มืออีกข้างประคองที่ก้นของน้องเอาไว้ 2. การเตรียมบ้านให้กระต่าย…
-
-
-
-
-
DiseasesManagementWellness
วิธีสังเกตอย่างไรหากสัตว์เลี้ยงมีอาการท้องเสีย
by DEEMMIby DEEMMI 3 mins read